ออมสุข-ออมเงิน
หากวันนี้ ใครยังไม่มีความสุข ยังไม่พบความสำเร็จในสิ่งที่ทำ และเชื่อมั่นว่าสามารถทำได้ จงอย่ายอมแพ้ ขอให้มุ่งมั่น อดทน แม้ต้องปรับเปลี่ยนบางอย่าง ทั้งนี้ เพื่อรักษาความเชื่อมั่นของเรา นั่นเอง
การออมสุข
ความสุขของคนแตกต่างกัน บางคนมีความสุขจากความพอเพียง บางคนมีสุขจากการใช้จ่ายเงิน ซึ่งความสุขของทุกคน มักมาจากความพึงพอใจในหน้าที่การงานของตนทั้งสิ้น
ดังนั้น ความสุข จึงควรต้องเกิดจากความศรัทธาในเป้าหมาย และจริงใจกับงานของเราเป็นตัวตั้ง
วินัยการออม
คนที่ออมเงินเพื่อความสุขอย่างยั่งยืน คือ บุคคลผู้มีประสบการกับวินัยในการเก็บออมเงิน 2 ลักษณะ
ควบคุมการออมด้วยกลไกวินัยในตนเอง คือ การออมด้วยใจไฝ่ออมอย่างต่อเนื่อง ด้วยวินักในตนเอง และมีความสุขจากความพอเพียง
ควบคุมการออมด้วยกลไกภายนอก คือการใช้เงื่อนไขให้ดักเงินออกไปออมแบบอัตโนมัติ อาจเรียกว่า ‘หักดิบ’ เช่น การให้ตัดเงินเดือนอัตโนมัติ เพื่อออมเงินในรูปของ "หุ้นสหกรณ์" เป็นต้น ด้วยเพราะปุถุชนมักมีเรื่องต้องนำเงินไปใช้จ่ายทางอื่น ตามกิเลส-ตัญหา-ราคะตนเป็นธรรมดา ทำให้ไม่ได้ออมตามที่ควรจะเป็น
หมายเหตุ
กิเลส : ความโลภ โกรธ หลง
ตัญหา : ความทะยานอยาก | ราคะ : ความติดใจในอารมณ์ที่ปรารถนา
คนจนผู้ยิ่งใหญ่
แบบอย่างการมีวินัยในการออม ของนายอภิรักษ์ แซ่ฮ้อ ผู้ออมเงินวันละ 20 บาท จนมีเงินสะสมมากถึงหลักหมื่นบาท
การออมของอภิรักษ์ คือการออมเดือนละ 600 บาท เทียบได้กับการออมในหุ้นสหกรณ์ออมทรัพย์ มออ. จำนวน 60 หุ้น (หุ้นละ 10 บาท)
หากคิดว่า ‘วินัยนี้ยากเย็นนัก’ ก็ขอให้สหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ ช่วยเป็นกลไกภายนอก ในการกำกับวินัยการออมแทนท่าน เพราะเพียง 10 หุ้น (เดือนละ 100 บาท) ก็สามารถออมเงินในสหกรณ์ออมทรัพย์ มออ. ได้
เชิญชวนสมัคร สมาชิกสามัญ และสมาชิกสมทบ สหกรณ์ออมทรัพย์ มออ