อันดับความน่าเชื่อถือทางการเงิน
(Credit Rating)

อันดับความน่าเชื่อถือ คืออะไร

อันดับความน่าเชื่อถือ หรืออันดับเครดิต (Credit Rating) เป็นการประเมินความน่าเชื่อถือของผู้ออกตราสารหนี้ของ สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating Agencies) ที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ซึ่งในประเทศไทยมีสถาบันจัดลำดับ 2 แห่ง ได้แก่

สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ทำหน้าที่เสนอความน่าเชื่อถือของสถาบันทางการเงินให้กับนักลงทุน เสมือนนักชิม ตรวจสอบคุณภาพอาหารและปลอดภัยก่อนถึงมือผู้บริโภค โดยจัดระดับเป็นจำนวนดาว เป็นต้น

อันดับความน่าเชื่อถือ และขั้นตอนการจัดอันดับ

ความน่าเชื่อถือ 8 อันดับ ประกอบด้วย AAA, AA, A, BBB, BB, B, C ลงไปจนถึง D ระดับต่ำสุด [ขั้นตอนการจัดอันดับเครดิต ของทริสเรทติ้ง]

อันดับเครดิตยิ่งสูง ความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ยิ่งต่ำ อันดับความน่าเชื่อถือ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

ตราสารหนี้ที่น่าเชื่อถือ

อันดับความน่าเชื่อถือ เป็นลักษณะที่สำคัญของตราสารหนี้ภาคเอกชน ซึ่งแตกต่างจากพันธบัตรรัฐบาล (Government Bond) ที่ถือเป็นตราสารหนี้ที่ปราศจากความเสี่ยงด้านเครดิต เนื่องจากรัฐบาลมีความน่าเชื่อถือมากที่สุดในประเทศ จากการที่รัฐบาลมีอำนาจในการเก็บภาษีเพื่อมาใช้คืนหนี้ นั่นเอง

บทความนี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัจจัยที่ช่วยในการตัดสินใจลงทุนตราสารหนี้ นักลงทุนควรพิจารณาความเสี่ยงให้รอบด้าน และติดตามข้อมูลข่าวสารประกอบก่อนตัดสินใจลงทุน เพราะอันดับเครดิตของตราสารหนี้สามารถปรับเปลี่ยนได้ เมื่อสภาวะเศรษฐกิจ หรือการดำเนินธุรกิจเปลี่ยนแปลงไป